ในการเข้าชมเว็บไซต์นี้ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ยินดีให้มีการเก็บคุกกี้เพื่อวิเคราะห์สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์และเก็บข้อมูลส่วนบุคคลบางประการของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดข้อมูลได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การบริหารจัดการความเสี่ยง

หน้าหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนการบริหารจัดการความเสี่ยง
โครงสร้างการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงโครงสร้างการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง Enterprise Risk Management Structure บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการของบริษัทอยู่บนแนวคิด Three Lines of Defense โดยการกำกับดูแลส่วนที่ 1 (The first line of defense) เป็นส่วนกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงการดำเนิน ธุรกิจประจำวันของแต่ละหน่วยงาน อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะ อนุกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน การกำกับดูแลส่วนที่ 2 (The second line of defense) เป็นส่วน กำกับดูแลความความเพียงพอ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง โดยมีฝ่ายบริหารความเสี่ยงเป็นผู้สนับสนุนการทำงาน การกำกับดูแลส่วนที่ 3 (The third line of defense) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงผ่านกลไกการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและฝ่ายตรวจสอบภายใน   

โครงสร้างการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่กำหนดไว้ บริษัทต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงได้พัฒนากรอบการบริหารความเสี่ยงขึ้น เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงยังสามารถรักษาความมั่นคงทางการเงิน ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความยั่งยืน กรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทถูกพัฒนาขึ้นจากมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย (Insurance Core Principles: ICP) ของสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors: IAIS) และสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารความเสี่ยงของสำนักงาน คปภ. เพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายทางธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาวสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัท      
                                                         
บริษัทได้กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) เพื่อใช้ประกอบการกำหนดกลยุทธ์ นโยบายการดำเนินงาน และเป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทมุ่งเน้นการระบุความเสี่ยงหลักที่จะมีผลกระทบต่อเงินกองทุน ความมั่นคงทางการเงิน และชื่อเสียงของบริษัท มีการประเมินความเสี่ยงและการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของความเสี่ยง กำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยงและเกณฑ์ที่เหมาะสม กำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงเพื่อควบคุมความเสี่ยงหลักให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และประเมินประสิทธิผลของมาตรการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง บริษัทมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้จากเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นและปรับปรุงมาตรการบริหารความเสี่ยงและดัชนีชี้วัดความเสี่ยงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยบริษัทมีการติดตามดูแลความเสี่ยงหลักอย่างสม่ำเสมอและจัดให้มีการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกไตรมาส